วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

😀แบบฝึกหัดบทที่ 1😀

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
            มนุษย์เราจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า มนุษย์เป็นสัตว์อันสังคมและมนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอาศัยพึงพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ ดังคำกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมและมีเหตุผล (rational and social being)”
               และถ้าหากไม่มีกฎหมาย ก็จะทำให้สังคมมนุษย์อยู่ได้อย่างลำบาก ไม่มีทิศทางในการดำเนินชีวิต เกิดการทะเลาะวิวาท ฆ่ากันตาย ต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไร้ซึ่งความสงบ
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
               ดิฉันคิดว่าสังคมปัจจุบันอยู่ไม่ได้ถ้าหากไม่มีกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ อีกทั้งไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ทำให้ไม่มีสิ่งใดสามารถนำมาใช้ลงโทษคนเหล่านี้ได้

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้

ความหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย ประการ คือ
                        1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
                        2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                        3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                        4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
ที่มาของกฎหมาย
                ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
                           1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
                           2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                           3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                     1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                                     1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัต
                       1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                                     1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                                     1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
                        1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                                     1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                                     1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
                        1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                                     1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                                     1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
            2. กฎหมายภายนอก
                       2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
                       2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
                      2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย

                ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า ทุกประเทศมีการปกครองเป็นของตนเอง ซึ่งการที่ผู้นำประเทศจะปกครองประชาชนในประเทศนั้นได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการปกครองที่ประชาชนในประเทศทุกคนต้องยึดถือและเข้าใจตรงกันก็คือ “กฎหมาย” โดยประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น จะใช้กฎหมายระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) ส่วนประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ จะใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอร์ (Common Law System)
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
                สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

                ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯ นั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯ ในคราวเดียวกันก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย

        จะเห็นได้ว่าระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
                7.1 ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 

               7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย    

        ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                   1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                   2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
          1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                    1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                    1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย      ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
          2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                   2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
          3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                   3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
                   3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง


9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร

              เมื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  อาจมีหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
          ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
                                               1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                         
                                               2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
                                               3. พระราชกำหนด                                                       
                                               4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
                                               5. พระราชกฤษฎีกา                                                      
                                               6. กฎกระทรวง
                                               7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                     
                                               8. เทศบัญญัติ
                                               9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก

          ดิฉันคิดว่าเป็นการกระทำที่ผิด เพราะว่า ประชาชนเองมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองโดยในการชุมนุมก็เป็นการชุมนุมที่สงบเพื่อเเสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ การกระทำและวัตถุประสงค์เพียงเพื่อต้องการเรียกร้องสิทธิของตนเอง  แต่ทางรัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนโดยการทำร้ายประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม ดิฉันถือว่าเป็นสิ่งที่เกินกว่าเหตุและไม่ให้ความเคารพในสิทธิของประชาชน แล้วสิทธิของประชาชนจะมีบัญญัติไว้เพื่อเหตุใด หากแม้จะเรียกร้องและกระทำการใดๆเพื่อตนเองไม่ได้เลย 
ในรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ว่า  
1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
          2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
          3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
          4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
          5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
          6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
          7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
          8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
          9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
          10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
          11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
          12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงาน
นั้น


11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย

            สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา ถือได้ว่าเป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเเละสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นกฎหมายการศึกษาจึงเปรียบเสมือนตัวขับเคลื่อนเเละกรอบเเนวทางในการปฏิบัติให้บุคคลทางการศึกษาเเละระบบทางการศึกษาควรระลึกเเละปฏิบัติในเเนวทางที่ถูกต้อง

12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร

            ในฐานะที่เรียนรายวิชานี้ถ้าหากเราเองไม่ทราบกฎหมายทางการศึกษา จะทำให้เรากลายเป็นเพียงผู้ที่มีความรู้ครึ่งๆกลางๆ รู้สิ่งแค่เพียงผิวเผินไม่แตกฉาน ไม่อาจกล่าวได้เต็มปากเมื่อจะสอนสั่งผู้ใด อาจเกิดความละอายใจในอาชีพของตน ยิ่งความคาดหวังของสังคมต่ออาชีพครูและผู้เป็นครู คือ การไว้วางใจฝากบุตรหลานผู้เป็นแก้วตาดวงใจให้ดูแล เป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนให้ความรู้วิชาการต่างๆ ตลอดจนการดำรงชีวิต ครูจึงจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ ไม่ประพฤติตนให้เป็นที่เดือดร้อนต่อทั้งตนเองและผู้อื่น ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกรอบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษที่แน่ชัดสำหรับการทำผิดวินัยเพื่อจะได้เกรงกลัวเเละคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธื์ของกฎหมาย

อนุทินที่ 1

1.😄ประวัติของข้าพเจ้า😄


                                                                ชื่อ – สกุล : นางสาวธัญญารัตน์  มะลัย

ชื่อเล่น :  กี้

รหัสนักศึกษา : 5881114018

E - mail : tanyarat1827@gmail.com

วัน/เดือน/ปีเกิด  :  5 ธันวาคม 2539

ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านและที่อยู่ปัจจุบัน  :  99/3 หมู่ที่ 7 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280

การศึกษา  :   จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนไตรภูมิวิทยา  อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
                      จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปัจจุบัน  :  กำลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


2.😃อุดมการณ์ความเป็นครู😃

     สำหรับอุดมการณ์ความเป็นครูที่ยึดถือไว้เสมอ คือ ครูเป็นทั้งแบบอย่างและตัวอย่างบุคคลให้ศิษย์ ครูเป็นเช่นไร ศิษย์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นเมื่อหน้าที่ความรับผิดชอบของครูคือการทำให้ศิษย์เป็นคนดีมีคุณค่าต่อสังคม ครูต้องเป็นบุคคลเช่นนั้นก่อน เพื่อการณ์นั้นครูจึงต้องเป็นผู้ประพฤติตนดี มีศีลธรรมคุณธรรม มีเมตตาธรรมอันเป็นที่ตั้งพร้อมเผื่อแผ่ถึงทุกผู้ทุกคน มีความรู้เชี่ยวชาญดี มีความรับผิดชอบสูง เป็นแรงบันดาลใจและคอยสร้างแรงผลักดันให้ศิษย์ถึงฝั่งฝันที่ดีงาม

3.🙇เป้าหมายของนักศึกษา🙇

   สำหรับเป้าหมายของข้าพเจ้า คือ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีพร้อมเพื่อนๆ และได้ทำงานเป็นครู ได้ใช้ความรู้ในสายอาชีพที่ร่ำเรียนมาโดยเกิดประโยชน์สูงสุด ได้ดูแลตอบแทนคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ผู้ให้วิชา ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่าน ยิ่งคาดหวังว่าตนเองจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคนและประพฤติดีต่อไปเรื่อยๆ
🙏🙏🙏